การอุดฟันถือว่าเป็นหนึ่งในเทคโนโลยีทางการแพทย์ ที่เข้ามาช่วยแก้ปัญหาฟันผุให้สามารถคงสภาพการใช้งานเหมือนกับการย้อนเวลากลับไปให้ฟันที่สึกกร่อนได้รับการซ่อมแซมให้เหมือนใหม่อีกครั้งหนึ่ง นิยามของการอุดฟันจึงหมายถึงการแก้ไขปัญหาฟันในส่วนที่ถูกทำลายไปให้สามารถกลับมามีรูปทรงเหมือนฟันปกติ ช่วยให้การเคี้ยวอาหารและเพิ่มความมั่นใจให้กับรอยยิ้มสวย

อุดฟัน

ข้อดีของการอุดฟันคือมันจะเข้าไปหยุดรอยรั่วที่เป็นต้นเหตุของเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งกำลังลุกลามทำลายชั้นผิวฟันอย่างช้าๆ แพทย์จะทำการกรอเอาส่วนที่มีเชื้อแบคทีเรียออกไปจนหมดและใช้วัสดุอุดฟันอุดลงไปที่ช่องเพื่อป้องกันไม่ให้ฟันผุเพิ่มมากขึ้น โดยทั่วไปวัสดุที่ใช้ในการอุดฟันมีหลายชนิด ทั้งแบบพอร์เซเลน ทอง อมัลกัม  และคอมโพสิตเรซินที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีลักษณะสีเหมือนฟัน ทำให้ฟันหลังการอุดมีความสวยงามเหมือนฟันเดิมที่สมบูรณ์แบบ ต่างจากแบบอมัลกัมซึ่งเป็นวัสดุแบบตะกั่ว ทำให้มันมองเห็นได้ชัด แต่การใช้งานของวัสดุชิ้นนี้ก็ยังจำเป็นต่อการใช้งานดังที่เราจะขอกล่าวถึงต่อไปนี้

ชนิดของวัสดุที่ใช้ในการอุดฟันที่เราควรทำความรู้จัก
แม้ว่าการอุดฟันแบบคอมโพสิตเรซินจะได้รับความนิยมเป็นพิเศษ แต่การอุดฟันด้วยวัสดุแบบอื่น ก็มีความจำเป็นไม่แพ้กัน สิ่งเหล่านี้ขึ้นอยู่กับลักษณะของฟันที่ผุ การใช้งานของฟันรวมไปถึงความพึงพอใจของผู้เข้ารับการรักษาฟันด้วย ทั้งนี้แพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำการเลือกใช้วัสดุตามความเหมาะสม เพื่อให้การอุดฟันมีความแข็งแรงและอายุการใช้งานที่ยาวนานมากขึ้น

อุดฟัน ที่ เชียงใหม่

การใช้วัสดุอมัลกัมในการอุดฟัน
อมัลกัมหรือเงินเป็นวัสดุที่มีสีเข้มวาวคล้ายเงิน ทำให้สีของมันตัดกับเนื้อฟันจริงอย่างชัดเจน จึงทำให้มันไม่ค่อยได้รับความนิยมในการอุดบริเวณฟันหน้าหรือตามซอกฟันที่มองเห็นได้ชัด แต่ข้อดีของมันคือมีราคาถูกเมื่อเทียบกับแบบอื่น แถมยังมีความคงทนในการใช้งานต่อการบดเคี้ยวอาหาร แพทย์จึงนิยมใช้ในการอุดบริเวณฟันกรามด้านในที่ต้องใช้งานหนักมากกว่า

การใช้วัสดุคอมโพสิตเรซินในการอุดฟัน
เป็นวัสดุแบบพลาสติก มีความนิยมแพร่หลายเป็นอย่างมากในปัจจุบัน ช่วงอดีตวัสดุชนิดนี้ไม่ค่อยมีความคงทนเท่าใดนัก แต่ด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ทำให้มันพัฒนาและเพิ่มความคงทนได้เกือบเทียบเท่าอมัลกัม ข้อดีของมันคือมีสีเดียวกับฟันตามธรรมชาติ เมื่ออุดแล้วทำให้ฟันที่ผุกลับมามีสภาพเหมือนใหม่ได้ แพทย์จะใช้อุดบริเวณฟันที่มองเห็นได้ชัด หรือต้องการความเป็นธรรมชาติของสีฟัน แต่มักไม่นิยมอุดในบริเวณกว้าง เพราะโอกาสแตกหักและเสื่อมสภาพได้เร็วกว่าอมัลกัม อายุเฉลี่ยในการใช้งานประมาณ 10 ปี และยังมีโอกาสเกิดคราบเหลืองของอาหารและเครื่องดื่มอย่างชาและกาแฟได้ง่าย

composite-tooth-restorations-bonded-filling

การใช้วัสดุพอซเลนในการอุดฟัน
เป็นการอุดฟันโดยใช้วัสดุที่มีสีให้คล้ายคลึงกับฟันมากที่สุดในการอุด เรียกในอีกชื่อหนึ่งว่าอินเลย์ หรือ ออนเลย์ ตัววัสดุจะต้องถูกทำขึ้นภายในห้องปฏิบัติการ จากนั้นก็นำเอามาเชื่อมต่อเข้ากับฟัน ช่วยให้สีของฟันที่ได้เนียนเป็นธรรมชาติ อีกทั้งยังไม่มีปัญหาการติดของคราบชาและกาแฟ คงทนต่อการใช้งาน สามารถอุดได้พื้นที่กว้าง แต่ข้อเสียของมันคือมีราคาแพงมากกว่าแบบคอมโพสิตเรซินใน

การใช้ทองในการอุดฟัน
ทองเป็นวัสดุที่มีราคาแพงในการอุดฟัน ข้อดีของมันไม่ใช่เพื่อการอวดโชว์ความสวยงามของฟันที่เคลือบด้วยสีทอง แต่มันมีความคงทนต่อการใช้งานได้ยาวนานเกือบ 20 ปี ถือว่าเป็นวัสดุอุดฟันที่ดีที่สุด จะต้องมีการทำขึ้นด้วยวิธีการอินเลย์ในห้องปฏิบัติการ เหมาะสำหรับผู้ที่มีงบประมาณเพียงพอและต้องการให้การอุดฟันสามารถอยู่กับเราไปได้อีกนาน

อย่างไรก็ตาม การอุดฟันจะต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์เป็นส่วนใหญ่ เพราะบางส่วนของฟันที่มีรอยผุหรือแตกร้าวอาจจะต้องใช้วัสดุที่ทำให้ฟันดูไม่สวยไปบ้าง ทางที่ดีของการป้องกันคือแปรงฟันให้สะอาด ดูแลช่องปากให้ถูกสุขลักษณะ เพื่อจะได้ให้ฟันของเราคงสภาพการใช้งานที่ดีตามธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์แบบต่อไป